วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน100 คะแนน
ขอให้เพื่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงานโดยมีคะแนนเต็ม100 คะแนนขอขอบคุณทุกท่าน
-เพื่อนประเมินเพื่อนจำนวน5คน
-ส่วนญาติให้นักเรียนดำเนินการเองจำนวน1ท่าน

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สารชีวโมเลกุล


หมายถึง สารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้น เช่น ไขมัน น้ำมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป
ตอบข้อ 3.2 ชนิดไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

คือ สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ เป็นสารที่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เป็น โมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ
ตัวอย่าง ไขมัน น้ำมัน wax สเตอรอยด์กรดไขมัน (Fatty acid)
คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิลเป็นหมู่ฟังก์ชัน
สูตรทั่วไป

จำนวน C อะตอมเป็นเลขคู่ C ใน R ต่อกันเป็นสายยาวไม่ค่อยพบแตกกิ่งก้านสาขา และขดเป็นวงปิด
สมบัติ
กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรกบิวทาโนอิก C3C7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกันไขมัน และน้ำมัน (Fat and oil)
คือ สารอินทรีย์ประเภทลิปิดชนิดหนึ่ง
มีสูตรทั่วไปดังนี้

ไขมันและน้ำมันมีหมู่ฟังก์ชันเหมือนเอสเทอร์จัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ชนิดหนึ่งได้
การเตรียม

ไขมัน เป็นของแข็ง มักพบในสัตว์ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว มากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขวัว ไขควาย
น้ำมัน เป็นของเหลว มักพบในพืชประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก
สมบัต ไขมันมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมัน ไม่ละลายน้ำละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีน้ำ เช่น เบนซีน ไขมันและน้ำมันเสีย จะเกิดกลิ่นเหม็นหืนการเกิดกลิ่นเหม็นหืน

การป้องกัน เติมสารกันเหม็นหืน (Antioxidiant) เช่น วิตามิน E วิตามิน C สาร BHT
Saponification เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสไขมันและน้ำมันด้วยเบส เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากไขมันและ น้ำมันกับด่าง เกิดเกลือของกรดไขมัน (สบู่) กับกลีเซอรอล ดังนี้

การตรวจหาปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมัน
ไขมันและน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (C = C) ทำปฏิกิริยากับสารละลาย Br2 หรือ I2 ได้เกิดปฏิกิริยาการเติมตรงบริเวณ C กับ C ที่จับกันด้วยพันธะคู่ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมันนั้นการตรวจหาปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมัน
ไขมันและน้ำมันชนิดใดสามารถฟอกจางสีของสารละลาย I2 มาก แสดงว่าไขมันและน้ำมันนั้น ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวปริมาณมาก
ที่มา http://bkw.ac.th/content/snet5/topic8/fat.htm
ตอบข้อ 3

ในทาง เคมี สารละลาย คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวทำละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวถูกละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำ
สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับ ตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของมัน
ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%C3%A0%C2%B8%C2%AA%C3%A0%C2%B8%C2%B2%C3%A0%C2%B8%C2%A3%C3%A0%C2%B8%C2%A5%C3%A0%C2%B8%C2%B0%C3%A0%C2%B8%C2%A5%C3%A0%C2%B8%C2%B2%C3%A0%C2%B8%C2%A2

ตอบข้อ 1



พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนท์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึด
กับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง
กรดอะมิโน (amino acid) ประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนนอกจากนี้บางชนิด
อาจประกอบด้วยอะตอมของธาตุอื่นๆ อีก เช่น ฟอสฟอรัส เหล็กและกำมะถัน เป็นตัน
กรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อ กันได้ด้วยพันธะโคเวเลนท์ที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างซึ่ง
ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์
สาร ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วย กรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน ตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

ตอบ ข้อ 2

ที่มา http://www.enn.co.th/news/147/ARTICLE/4860/2008-10-05.html


โครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน สำหรับแป้ง เซลลูโลสและไกลโคเจน เกิดจากกลูโคสหลายโมเลกุลมารวมตัวกันเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ตัวอย่างโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลส
แป้งในสภาวะที่เป็นกรดจะถูกไฮโดร ไลซ์ได้ง่ายได้สารที่มีโมเลกุลเล็กลงเรียกว่า เด็กซ์ตริน เมื่อถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปจะได้มอลโทสและกลูโคส ตามลำดับ แป้งที่อยู่ในร่างกายจะถูกย่อยโดยเอนไซม์อะไมเลสและมอลเทส
เซลลูโลสทำ หน้าที่เป็นโครงสร้างของพืช การไฮโดรไลซ์เซลลูโลสอย่างสมบูรณ์จะได้กลูโคสเป็นผลิตภัณฑ์
สำหรับไกลโค เจนซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในเซลล์ของสัตว์ พบมากในตับและกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนประกอบด้วยกลูโคสเชื่อมต่อกันคล้ายกับส่วนที่เป็นอะไมโลเพกตินของ แป้ง แต่จะมีมวลโมเลกุลมีโซ่กิ่งมากกว่า

ตอบ ข้อ. 1
ที่มา http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/Carbohidred.htm



อินซูลิน คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อย กลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วน ของร่างกาย


ตอบ ข้อ. 1

ทีมา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553